บทความวิทยุ โลกร้อน
วัตถุประสงค์ของการเขียนบทความเรื่อง มหันตภัยโลกร้อน
1. เพื่อให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงภาวะโลกร้อน
2. เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกที่ดีและช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม
เรื่อง มหันตภัยโลกร้อน
เป็นที่ยอมรับว่า มหันตภัยจาก “ภาวะโลกร้อน” จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพียงแต่เวลาที่จะเกิดขึ้นนั้น นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด อย่างไรก็ดี สัญญาณมหันตภัยนี้ได้เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย เกิดพายุในระดับที่รุนแรงขึ้น ผืนดินบางแห่งแห้งแล้ง
ซึ่งสาเหตุ ภาวะโลกร้อนนั้นเกิดจากการที่ก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาผลาญถ่านหินและเชื้อเพลิง รวมไปถึงสารเคมีที่มีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ใช้ และอื่นๆอีกมากมาย จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆสูงขึ้นจากเดิม
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนนั้นก็มีให้เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ ได้แก่
ธารน้ำแข็งกำลังละลาย พืชและสัตว์ต่าง ๆ กำลังถูกผลักดันให้ต้องอพยพออกจากถิ่นฐานเดิมของมัน และปริมาณพายุที่มีความรุนแรงก็มีให้เห็นเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับความแห้งแล้ง
พายุเฮอร์ริเคนที่มีความรุนแรงระดับ 4 ถึง 5
มีจำนวนเพิ่มขึ้นสองเท่าตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา
โรคไข้มาลาเรียสามารถระบาดได้ในเขตพื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้น
อย่างเช่นในบริเวณเทือกเขา Colombian Andes ที่มีความสูง
อยู่ในระดับ 7,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล
กระแสธารน้ำแข็งในเขตกรีนแลนด์
มีปริมาณเพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
พืชและสัตว์ไม่ต่ำกว่า 279 สปีชีส์ได้มีการตอบสนองต่อภาวะโลกร้อนเห็นได้จากการพยายามย้ายถิ่นฐานเข้าใกล้ขั้วโลกมากขึ้น
และถ้าระดับความร้อนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเราคงจะได้เห็นสิ่งเลวร้ายที่จะตามมาคือ
อัตราการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน
จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นสองเท่าภายในระยะเวลา 25 ปีคือ 300,000 คนต่อปี
ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นมากกว่า 20 ฟุต จากการละลายหายไปของพื้นน้ำแข็ง
ในเขตกรีนแลนด์และแอนตาร์คติกาซึ่งจะกลืนกินพื้นที่ชายฝั่งทั่วโลก
คลื่นความร้อนจะเกิดบ่อยขึ้นและมีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม
ความแห้งแล้งและการเกิดไฟป่าจะมีมากขึ้น
มหาสมุทรอาร์คติกจะปราศจากน้ำแข็งหลงเหลือ ในฤดูร้อนของปี ค.ศ.2050
สิ่งมีชีวิตทั่วโลกมากกว่าหนึ่งล้านสปีชี่ส์จะสูญพันธุ์ภายในปี ค.ศ.2050
Before
After
ปัญหาที่สำคัญอีกประการคือผลกระทบด้านสุขภาพของมนุษย์
อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นและเหตุการณ์ตามธรรมชาติที่รุนแรงและเกิดบ่อยครั้งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและอนามัยของคนไทย โรคระบาดที่สัมพันธ์กับการบริโภคอาหารและน้ำดื่มมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงมากขึ้น ภัยธรรมชาติ เช่น ภาวะน้ำท่วมทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็น โรคบิด ท้องร่วง และ อหิวาห์ตกโรค เป็นต้น
โรคติดต่อในเขตร้อนก็มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น และจะคร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะไข้มาลาเรีย ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากการขยายพันธุ์ของยุงจะมากขึ้นในสภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น อีกโรคหนึ่งที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้น คือ ไข้ส่า ปัจจุบันการระบาดของไข้ส่าในประเทศไทยมีความรุนแรง และมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นกว่า 8-10 เท่า ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นและฤดูกาลที่ไม่แน่นอน
แนวโน้มของผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงจากภัยธรรมชาติ อาจนำไปสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร และความอดอยาก ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร และภูมิต้านทานร่างกายต่ำ โดยเฉพาะในเด็กและคนชรา
ซึ่งในอนาคตคาดว่าผลกระทบของภาวะโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เราสามารถช่วยกันลดภาวะโลกร้อนได้หลายวิธี หลักๆก็เห็นจะเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและประหยัด เพราะว่าพลังงานที่พวกเราใช้กันอยู่ทุกวันนี้กว่าจะมาถึงให้เราได้ใช้นั้น ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนในการผลิตมากมาย เพราะฉะนั้นการลดใช้พลังงานก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ เช่น การปิดไฟเมื่อไม่ได้ใช้ การใช้น้ำอย่างประหยัด การใช้จักรยานแทนรถยนต์ในการเดินทางใกล้ๆ และอื่นๆอีกมากมาย
การปลูกต้นไม้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ อย่างที่เรารู้กันดีว่าในเวลากลางวัน ต้นไม้นั้นจะช่วยหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป และหายใจออกมาเป็นก๊าซออกซิเจน เปรียบเสมือนเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเราโดยแท้ แต่ทว่าปัจจุบันป่าไม้ถูกทำลายและมีจำนวนลดลงไปอย่างมาก ฉะนั้นถ้าเราทุกคนช่วยกันปลูกต้นไม้ ก็เหมือนกับช่วยเพิ่มเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเรา
credits
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น